วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

       ในบทความนี้ผมจะขอนำเสนอกรอบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา ผมเป็นคนสั่งเคราะห์ขึ้นจาก กรอบสมรรถนะของหน่วยงานราชการไทย และนักวิชาการ นักการศึกษา นักวิจัย ทั้งไทยและต่างประเทศ โดยกรอบสมรรถนะที่สังเคราะห์ได้นี้ มีอยู่ 14 ด้าน ดังนี้
          1. ด้านหลักและกระบวนการบริหารการศึกษา 
          2. ด้านนโยบายและการวางแผนการศึกษา 
          3. ด้านการบริหารวิชาการ 
          4. ด้านการบริหารด้านธุรการ การเงิน พัสดุ และอาคารสถานที่ 
          5. ด้านการบริหารงานบุคคล 
          6. ด้านการบริหารกิจการนักเรียน 
          7. ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา 
          8. ด้านการบริหารการประชาสัมพันธ์และความสัมพันธ์ชุมชน 
          9. ด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
          10. ด้านคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหารการศึกษา 
          11. ด้านการมีจิตบริการ 
          12. ด้านการเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมการบริหารการศึกษา 
          13. ด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ 
          14. ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลง
          
          ข้างต้นก็เป็นกรอบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ผมได้สังเคราะห์ขึ้นมา ซึ่งคิดว่าครอบคลุมสมรรถนะที่ควรมีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 

มาทำความรู้จักกับ สมรรถนะ ผู้บริหารสถานศึกษา


มีผูใหนิยามหรือใหคําจํากัดความของสมรรถนะไวดังนี้
             ราชบัณฑิตสถาน  ใหความหมายของ สมรรถนะดังนี้ คือ สมรรถ, สมรรถ (สะมัด, สะมัดถะ-, สะหมัดถะ-) ว. สามารถ (ส. สมรถ วา ผูสามารถ ; ป. สมตถ) สมรรถภาพ (สะมัดถะ-, สะหมัดถะ-) น. ความสามารถ เชน เขาเปนคนมีสมรรถภาพใน การทํางานสูงสมควรไดเลื่อน
ตําแหนง สมรรถนะ ใชแกเครื่องยนต เชน เครื่องยนตแบบนี้มีสมรรถนะดีเยี่ยมเหมาะสําหรับการเดินทางไกล
               สํานักงานคณะกรรมการขาราชการพลเรือน ใหคำจํากัดความ สมรรถนะ คือ เปนกลุมพฤติกรรมที่องคการตองการจากขาราชการ เพราะเชื่อวาหากขาราชการมี พฤติกรรมการทํางานในแบบที่องคการกําหนดแลว จะสงผลใหขาราชการผูนั้นมีผลการปฏิบัติงานดี และสงผลใหองคกรบรรลุวัตถุประสงคที่ตองการไว กล่าวโดยสรุปสมรรถนะสามารถใชเปนสิ่งที่ ทํานายผลการปฏิบัติงาน หรือ เปนสวนหนึ่งของผลการปฏิบัติงานก็ได แตจะใชในเรื่องใดผูใชตองมี ความเขาใจ เพราะวิธีการประเมินและจุดประสงคของการใชสมรรถนะจะแตกตางกันไป 
                  สรุปความหมายของสมรรถนะ หมายถึง กลุ่มพฤติกรรมที่สะท้อนความสามารถในการทํางานของบุคคลที่เกิดจากความรู เจตคติ หรือ คุณลักษณะเฉพาะตัวของแตละบุคคล อันเปนปจจัยสําคัญในการผลักดันใหบุคคลนั้นสามารถปฏิบัติงานในหนาที่ใหสําเร็จลุลวงตามเปาหมายที่กําหนดในตําแหนงงานนั้น ๆ 

                     ในบทความนี้เอาแค่นี้ก่อนนะครับ   เดี๋ยวค่อยมาว่ากด้วยเรื่อง สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากัน ในบทความต่อไป

วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สิ่งที่ควรรู้ก่อนสอบ

     สวัสดีครับ วันนี้เรามาดูกันว่า การที่เราจะสอบเพื่อก้่าวเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษานั้น เราจำเป็นต้องรู้อะไรบ้าง ทั้งนี้ีเพื่อที่เราจะได้เตรียมตัวให้พร้อมที่สุดก่อนลงสนามสอบจริง จะได้ไม่พลาดหวัง เพราะการสอบผู้บริหารสถานศึกษาใช่ว่าจะมีการเปิดสอบกันทุกปี.........จริงไหม    สิ่งที่เราควรรู้ก่อนสอบมีดังนี้
     1. ที่ไหนเปิดสอบ แน่นอนว่าเราจำเป็นต้องรู้สถานที่เปิดสอบ เพราะข้อสอบไม่น้อยกว่า 5% มักจะออกเกี่ยวกับสถานที่เิปิดสอบ เช่น คำขวัญ บริบททั่วๆไป สถานที่สำคัญ ฯลฯ
     2. หลักสูตรการสอบ ว่ามีการสอบอะไรบ้าง ทั้งนี้โดยมากแล้วหลักสูตรการสอบมักจะไม่แตกต่างกันเท่าไหร่ เพราะต้องอิงหลักสูตรของ สพฐ. อยู่แล้ว
     3. ใครออกข้อสอบ เป็นข้อสอบกลาง หรือข้อสอบที่ออกโดยเขตพื้นที่ อันนี้เราจำเป็นต้องรู้ เพราะจะได้เก็งข้อสอบได้ถูก เช่น ถ้าเป็นข้อสอบกลาง ก็อาจจะเป็น ม.จุฬาฯ หรือไม่ก็ มสธ. เป็นคนออก เราก็ไปหาหนังสือที่เป็นของ 2 สำนักนี้มาเก็งข้อสอบ แต่ถ้าเป็นเขตพื้นที่ออก ก็ไปหาหนังสือทั่วๆไปมาดูได้เลย เพราะคนออกข้อสอบก็จะไปหาซื้อหนังสือเหล่านี้แหละมาออกข้อสอบ
     4. สุดท้ายที่สำคัญที่สุดก็คือ "เราพร้อมหรือยัง"   เพราะถ้าเราไม่พร้อมก็ไม่ควรจะไปสอบให้เสียกำลังใจ

     เหล่านี้คือสิ่งที่เราจะต้องรู้ก่อนลงสนามสอบ ถ้าเราสำรวจแล้วพบว่าเรายังไม่รู้อะไรอีกหลายๆอย่าง เราก็ควรจะหาข้อมูล เพื่อให้เราพร้อมที่สุด จะได้ไม่พลาดหวังในการสอบนะครับ

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การเตรียมตัวสำหรับคนอยากสอบเป็นผู้บริหารสถานศึกษา

ครับ ในบทความนี้จะว่าด้วยเรื่องการเตรียมตัว เตรียมใจในการที่จะสอบเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งท่านต้องมีการเตรียมตัวดังนี้
1. ท่านมีใบประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา หรือยัง ถ้ายังก็ไปจัดหามาซะ สำหรับใครที่ไม่ได้จบ บริหารการศึกษามาก่อน ก็ต้องไปเรียนเพิ่มเติม เพราะถ้าไม่จบบริหารการศึกษามา คุรุสภาเขาจะไม่ออกใบประกอบวิชาชีพให้
2. ท่านเป็นครูมากี่ปี ถ้าเป็นครูมาไม่ถึง 5(หรือ6 น้อออ) ปี ก็อดครับ เพราะเขากำหนดไว้อย่างนั้น
3. ท่านมีวิทยะฐานะอะไร ถ้ายังไม่มีก็สอบได้แค่ตำแหน่งรองผู้อำนวยการ แต่ถ้าเป็นครูชำนาญการแล้วก็สามารถสอบเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนได้เลย
4. ปรึกษากับเมียให้เข้าใจ เพราะการเป็นผู้บริหารอาจจะทำให้ท่านไม่ได้กินข้าวเย็นกับเมียทุกวัน
5. หาแหล่งข้อมูล ข้อสอบ แหล่งติว เทปการบรรยาย หนังสือเตรียมสอบ

ถ้าท่านมีครบทั้ง 5 ข้อที่ผมว่ามาแล้ว ก็ขึ้นอยู่กับท่านแล้วหล่ะครับ ว่าจะมีความตั้งใจจริงแค่ไหนในการเตรียมตัวสอบ เพราะเท่าที่ผมเห็นมา พวกเตรียมตัวสอบ มีการนัดกันไปติว แต่ไปจบที่ร้านเหล้า แล้วก็สอบไม่ติดกันซักคน ดังนั้น นอกจากท่านจะต้องเตรียมตัวให้ดีก่อนการสอบแล้ว ท่านต้อมีความตั้งใจจริงในการที่จะสอบด้วย

ข้อดีของการสอบผู้บริหารสถานศึกษา

ครับไม่ว่าแต่ละท่าน แต่ละคนจะมีเหตุผล,แรงจูงใจอะไรก็ตามในการที่จะสอบผู้บริหารสถานศึกษา แต่ผมเชื่ออย่างหนึ่งว่า เมื่อท่านสามารถสอบผ่านกระบวนการเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารได้แล้ว จะเกิดผลดีดังนี้
1. ร้านขายสูท จะมียอดขายเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 ตัว เพราะท่านต้องตัดสูท ใหม่แน่นอน...55
2. ภาพลักษณ์ของท่านจะดีขึ้นทันที เพราะเป็น ผู้บริหารแล้วนะ ไม่ใช่ครูน้อยเหมือนเดิม
3. เจลแต่งผมได้ขายเยอะขึ้น เพราะเมื่อตอนเป็นครูน้อย ก่อนออกจากบ้านท่านอาจจะไม่คิดอะไร ไม่แต่งอะไร แต่พอเป็นผู้บริหารแล้วต้องดูดี ดูน่าเชื่อถือ ดังนั้นการเซ็ทผม แต่งผมด้วยเจล ก็ต้องมีบ้าง ใครไม่เคยก็จะเป็นตอนนี้แหละ
4. สำหรับท่านที่มีเมียแล้ว เมียท่านจะถูกเรียกว่า "คุณนาย" ในทันที ซึ่งจะทำให้เมียท่านหน้าบานไปหลายปี......จนกว่าจะชิน
5. สำหรับท่านที่ยังไม่มีเมีย จะทำให้ท่านสามารถหาเมียได้ง่ายขึ้น และอาจจะหาได้หลายๆคนพร้อมๆกัน....555
6. โรงเรียนที่ท่านจะไปดำรงตำแหน่ง จะได้ผู้บริหารรุ่นใหม่ ไฟแรง ไปช่วยพัฒนาโรงเรียน(หรือเปล่า)
.
.
ฯลฯ
เยอะแยะไปหมดครับสำหรับข้อดีของการสอบได้เป็นผู้บริหารสถานศึกษา แต่ท่านต้องไม่ลืมนะครับว่า ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษานั้นถ้าแบ่งตามโครงสร้างการบริหารงานของกระทรวงศึกษาแล้ว จะเป็นเพียงแค่ตำแหน่งผู้บริหารระดับต้นเท่านั้น ซึ่งเราสามารถก้าวเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารระดับกลาง(ผอ.เขต) และผู้บริหารระดับสูง(เลขาฯ สพฐ.)ได้ ฉะนั้น อย่าได้หลงระเริงกับตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษามากจนเกินไปนะครับ จงพัฒนาตนเองเพื่อเตรียมความพร้อมในตำแหน่งบริหารที่สูงขึ้นไปอีก

วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

แรงจูงใจ(Motivation)

สวัสดีครับ มาบทความนี้เราจะมาว่ากันด้วยเรื่อง แรงจูงใจหรือที่นักศึกษาปริญญาโท มักจะเรียกกันโก้ๆว่า Motivation แรงจูงใจในที่นี้คือ แรงจูงใจในการสอบเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งผมได้ใช้สมองอันมีอยู่น้อยนิด วิเคราะห์พร้อมทั้งสังเคราะห์แล้วพบว่า แรงจูในใจการสอบผู้บริหารสถานศึกษาของครูน้อยนั้น มีดังนี้
1. ขี้เกียจสอน(อันนี้เรื่องจริงนะครับอย่าปฏิเสธ)
2. หนหวย,ขั่นแข่ว,หมั่นไส้ ผอ. อันนี้เป็นเหตุผล,แรงจูงใจยอดฮิตที่ทำให้ครูน้อยอยากสอบเป็นผู้บริหารสถานศึกษา
3. เกิดอาการ "คิดได้ ทำไม่ได้" เนื่องด้วยเป็นครูน้อย คิดอยากจะทำอะไรก็ทำไม่ได้ดังใจ ถ้าผู้บริหารไม่เอาด้วย เลยเกิดความคิดที่ว่า ถ้าเป็นผู้บริหารซะเองแล้ว คงจะ"คิดได้ ทำได้" (แต่บางคนพอได้เป็นแล้วกลับไม่คิดจะทำอะไรเลยก็มี)
4. คิดว่าตัวเองสามารถทำได้ดีกว่า อันนี้คล้ายๆกันกับข้อ 2
5. อยากพัฒนาคุณภาพการศึกษา เหตุผลนี้เป็นเหตุผล,แรงจูงใจ ที่ไม่มีใครพูดถึงเลย.........555
.
.
ฯลฯ
ครับไม่ว่าใครจะมีเหตุผล,แรงจูงใจใด ในการสอบผู้บริหารสถานศึกษาก็ตาม แต่ผมเชื่ออย่างหนึ่งว่าการสอบ จะเป็นหนทางหนึ่งในการพัฒนาตนเอง เพราะอย่างน้อยท่านก็ต้องอ่านหนังสือเพื่อเตรียมสอบ ซึ่งก็ถือว่าท่านได้พัฒนาตนเองแล้ว

แรกเริ่มก่อนอยากสอบ

สวัสดีครับ ครูผู้มีอุดมการณ์ที่อยากสอบผู้บริหารสถานศึกษาทั้งหลาย ผมเขียนบล๊อกนี้ก็เพื่อสนองความอยากของตนเอง ในการที่จะได้แบ่งปันอารมณ์ความรู้สึกในบรรยากาศของการเตรียมตัวสอบผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งผมเดาเอาว่าหลายๆท่านที่ผ่านเข้ามาอ่านบล๊อกนี้ก็คงมีจุดมุ่งหมายเดียวกันกับผม ซึ่งก็คือ การก้าวไปสู่ตำแหน่งสูงสุดในโรงเรียน นั่นก็คือ ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา หรือตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน(ผอ. หาใช่ผัวอีแอ๋วไม่) ซึ่งอาจเป็นตำแหน่งยอดปรารถนาของบางคนแต่สำหรับบางคนอาจจะไม่ชอบถึงขั้นเกลียดเลยก็มี นานาจิตตังครับ การเป็นผู้บริหารสถานศึกษาสำหรับผมแล้ว ไม่ว่าจะโรงเรียนเล็ก หรือโรงเรียนใหญ่ นัั้นไม่สำคัญสำหรับผม เพราะในปัจจุบันนี้มันไม่มีแล้วครับตำแหน่งพวก ครูใหญ่, อาจารย์ใหญ่,ผู้อำนวยการ ที่แบ่งกันตามขนาดโรงเรียน มีแต่ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเหมือนกันหมด โรงเรียนขนาดใหญ่นักเรียนเป็นพัน หรือโรงเรียนขนาดเล็กนักเรียน 40 คน ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ก็คือผู้อำนวยการเหมือนกันหมด ดังนั้นสำหรับผมแล้ว การเป็นหัวหมา ดีกว่าหางราชสีห์ อย่างแน่นอน